ธาตุและสารประกอบ
ธาตุ
(Element)
หมายถึง สารบริสุทธิ์เนื้อเดียวมีองค์ประกอบเพียงอย่างเดียว
มีสมบัติเฉพาะตัวและจุดเดือดจุดหลอมเหลวคงที่
ตารางธาตุ
(Periodic table) คือ
ตารางที่ใช้แสดงรายชื่อธาตุเคมี คิดค้นขึ้นโดยนักเคมีชาวรัสเซีย
ดมีตรี เมนเดเลเยฟ (Dmitri Mendeleev) ในปี พ.ศ. 2412
จากการสังเกตว่า เมื่อนำธาตุที่รู้จักมาวางเรียงตามลำดับเลขอะตอม จะพบว่าคุณสมบัติพื้นฐานบางอย่างคล้ายกัน สามารถจำแนกเป็นกลุ่มๆ
ได้ทำให้เกิดรูปแบบตารางธาตุ
ประวัติศาสตร์ของตารางธาตุ
เริ่มต้นจาก
จอห์น นิวแลนด์ส ได้พยายามเรียงธาตุตามมวลอะตอม แต่เขากลับทำให้ธาตุที่มีสมบัติต่างกันมาอยู่ในหมู่เดียวกัน นักเคมีส่วนมากจึงไม่ยอมรับตารางธาตุของนิวแลนด์ส ต่อมา ดมีตรี เมนเดเลเยฟ จึงได้พัฒนาโดยพยายามเรียงให้ธาตุที่มีสมบัติเหมือนกันอยู่ในหมู่เดียวกัน
และเว้นช่องว่างไว้สำหรับธาตุที่ยังไม่ค้นพบ พร้อมกันนั้นเขายังได้ทำนายสมบัติของธาตุใหม่ไว้ด้วย โดยใช้คำว่า เอคา (Eka)
นำหน้าชื่อธาตุที่อยู่ด้านบนของธาตุที่ยังว่างอยู่นั้น เช่น เอคา-อะลูมิเนียม (ต่อมาคือธาตุแกลเลียม) เอคา-ซิลิคอน
(ต่อมาคือธาตุเจอร์เมเนียม) แต่นักเคมีบางคนในยุคนั้นยังไม่แน่ใจ เนื่องจากว่าเขาได้สลับที่ธาตุบางธาตุโดยเอาธาตุที่มีมวลอะตอมมากกว่ามาไว้หน้าธาตุที่มีมวลอะตอมน้อยกว่า
ดมีตรีได้อธิบายว่า เขาต้องการให้ธาตุที่มีสมบัติเดียวกันอยู่ในหมู่เดียวกัน
เมื่อดมีตรีสามารถทำนายสมบัติของธาตุได้อย่างแม่นยำ และตารางธาตุของเขาไม่มีข้อน่าสงสัย ตารางธาตุของดมีตรีก็ได้รับความนิยมจากนักเคมีในสมัยนั้นจนถึงยุคปัจจุบัน
ชื่อธาตุแบ่งตามหมู่
· หมู่ 1A ลิเทียม (Lithium) โซเดียม (Sodium – Natrium) โพแทสเซียม (Potassium – Kalium) รูบิเดียม (Rubidium) ซีเซียม (Cesium) แฟรนเซียม (Francium)
· หมู่ 2A เบริลเลียม
(Beryllium) แมกนีเซียม
(Magnesium) แคลเซียม
(Calcium) สตรอนเชียม
(Strontium) แบเรียม (Barium) เรเดียม (Radium)
· หมู่ 3A โบรอน (Boron) อะลูมิเนียม (Aluminum) แกลเลียม (Gallium) อินเดียม (Indium) แทลเลียม (Thallium)
· หมู่ 4A คาร์บอน (Carbon) ซิลิกอน (Silicon) เจอร์เมเนียม (Germanium) ดีบุก (Tin – Stannum) ตะกั่ว (Lead – Plumbum)
· หมู่ 5A ไนโตรเจน (Nitrogen) ฟอสฟอรัส (Phosphorous) อะซินิค (สารหนู) (Arsenic) พลวง (Antimony – Stibium) บิสมัท (Bismuth)
· หมู่ 6A ออกซิเจน (Oxygen) ซัลเฟอร์ (กำมะถัน) (Sulfur) ซีลีเนียม (Selenium) เทลลูเรียม (Tellurium) พอโลเนียม (Polonium)
· หมู่ 7A ฟลูออรีน (Fluorine) คลอรีน (Chlorine) โบรมีน (Bromine) ไอโอดีน (Iodine) แอสทาทีน (Astatine)
· หมู่ 8A ฮีเลียม (Helium) นีออน (Neon) อาร์กอน (Argon) คริปตอน (Krypton) ซีนอน (Xenon) เรดอน (Radon)
ยกเว้น ไฮโดรเจน
เพราะยังถกเถียงกันอยู่ว่าจะจัดลงไปที่หมู่
1 หรือ 7 ดี เพราะคุณสมบัติเป็นกึ่ง
ๆ กัน ระหว่าง 1A กับ 7A และธาตุประเภททรานซิชัน
ตารางธาตุ
อนุกรมเคมี
1. โลหะแอลคาไลน์ (Alkalimetal) เป็นอนุกรมเคมี ประกอบด้วยธาตุในหมู่ 1 ในตารางธาตุ ยกเว้นไฮโดรเจน โลหะแอลคาไลน์เป็นธาตุโลหะที่วาเลนซ์อิเล็กตรอนเพียง 1 อะตอมทำให้ว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยามาก
จึงไม่พบธาตุในรูปอิสระตามธรรมชาติและทำปฏิกิริยากับน้ำได้รุนแรงมากได้ก๊าซ
H2 เมื่อเป็นไอออนจะมีประจุ
+1 สารประกอบเกลือละลายน้ำได้ดี
เช่น KCl, NaCl นอกจากนี้ยังเป็นตัวนำความร้อนและตัวนำไฟฟ้าที่ดีมีอ่อนกว่าโลหะกลุ่มอื่นๆ
2. โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท (Alkaline earth metal) เป็นอนุกรมเคมีในตารางธาตุประกอบด้วยธาตุเคมีในหมู่ที่
2 โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท เป็นธาตุที่มีความว่องไวในการทำปฏิกิริยาสูงแต่น้อยกว่าโลหะหมู่
1 มีความหนาแน่น, ความแข็ง, จุดเดือด และจุดหลอมเหลว สูงกว่าธาตุหมู่ 1 เป็นไอออนที่มีประจุ +2
3. โลหะแลนทาไนด์ (Lanthanide ) เป็นอนุกรมเคมีของธาตุในตารางธาตุ
จำนวน 15 ตัว ตั้งแต่ ธาตุแลนทานัมถึง ธาตุลูทีเตียม ชื่ออนุกรมมีที่มาจากชื่อธาตุแลนทานัม ซึ่งเป็นธาตุแรกในอนุกรม สิ่งที่น่าสนใจ ได้แก่ ธาตุทุกตัวในอนุกรมมีเลขอะตอมมาก
และเป็นธาตุหายาก
4. โลหะแอกทิไนด์ (Actinide) เป็นอนุกรมเคมีของธาตุในตารางธาตุ
จำนวน 15 ตัว ตั้งแต่ธาตุแอกทิเนียม ถึง ธาตุลอว์เรนเซียม สิ่งที่น่าสนใจ ได้แก่ ชื่ออนุกรมมีที่มาจากชื่อธาตุแอกทิเนียม
ซึ่งเป็นธาตุแรกในอนุกรมธาตุทุกตัวในอนุกรมมีเลขอะตอมสูง
และเป็นธาตุหายาก ธาตุทุกตัวในอนุกรมแอกทิไนด์อยู่ใน บล็อก-f ยกเว้นลอว์เรนเซียมและธาตุทุกตัวในอนุกรมแอกทิไนด์เป็นธาตุกัมมันตรังสี มีเลขอะตอมสูง มีครึ่งชีวิตสั้น
5. โลหะทรานซิชัน (transition metal) มีการนิยามความหมายของโลหะทรานซิชันในอนุกรมเคมี
2 ประการดังนี้
โลหะทรานซิชันมีทั้งหมด 40 ตัว จะประกอบด้วยธาตุที่มีเลขอะตอมดังนี้
21 ถึง 30,39 ถึง 48,71 ถึง 80, และ 103 ถึง 112 ชื่อ “ทรานซิชัน” มาจากตำแหน่งของมันในตารางธาตุทั้ง
4 คาบที่มันอยู่ ธาตุเหล่านี้จะแทนการเพิ่มจำนวนอิเล็กตรอนเข้าไปอยู่ในวงโคจรดีของอะตอม
(atomic orbital) ด้วยเหตุนี้ โลหะทรานซิชันจึงมีความหมายถึงการส่งผ่าน (transition) ของธาตุหมู่ 2 และหมู่ 13
สมบัติของโลหะทรานซิชัน
- โลหะทรานซิชันทุกธาตุจะเป็นโลหะแต่มีความเป็นโลหะน้อยกว่าธาตุหมู่
IA และ IIA
- มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง ยกเว้นปรอทที่เป็นของเหลว
- มีจุดหลอมเหลว จุดเดือด และความหนาแน่นสูงนำไฟฟ้าได้ดี
ซึ่งในโลหะทรานซิชัน ธาตุที่นำไฟฟ้าได้ดีที่สุดคือ เงิน (คาบ 5) และรองลงมาคือ ทอง (คาบ 6)
- นำความร้อนได้ดี ธาตุทรานซิชันทั้งหมดมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 2 ยกเว้นธาตุโครเมียม และทองแดง ที่มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็น 1
- สารประกอบของธาตุเหล่านี้จะมีสีสัน มีพลังงานไอออไนเซชันลำดับที่
1 และอิเล็กโทรเนกาติวิตีต่ำ
- ขนาดอะตอม จะมีขนาดไม่แตกต่างกันมากโดยที่ในคาบเดียวกันจะเล็กจากซ้ายไปขวา ในหมู่เดียวกันจะใหญ่จากบนลงล่าง
- ธาตุเหล่านี้มีหลายออกซิเดชั่นสเตตส์ (oxidation states)
- ธาตุเหล่านี้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (catalysts) ได้ดี
- ธาตุเหล่านี้มีหลายออกซิเดชั่นสเตตส์ (oxidation states)
- ธาตุเหล่านี้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (catalysts) ได้ดี
- ธาตุเหล่านี้มีสีฟ้า-เงินที่อุณหภูมิห้อง (ยกเว้นทองคำและทองแดง)
- สารประกอบของธาตุเหล่านี้สามารถจำแนกโดยการวิเคราะห์ผลึก
6. โลหะหลังทรานซิชัน (post-transition metals)
คือธาตุในอนุกรมเคมีของตารางธาตุที่อยู่ระหว่างธาตุกึ่งโลหะ (Metalloids) และธาตุโลหะทรานซิชัน
(transition metals) มีประจุไฟฟ้าบวกมากกว่าโลหะแอลคาไลน์ (alkali metals) และโลหะแอลคาไลน์เอิร์ท
(alkaline earth metals) มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำกว่าโลหะทรานซิชัน
7. กึ่งโลหะ (Metalloid) เป็นธาตุในอนุกรมเคมี ที่มีสมบัติทั้งทางเคมีและฟิสิกส์อยู่กึ่งกลางระหว่างโลหะและอโลหะ
คุณสมบัติสำคัญที่ใช้จำแนกประเภทของธาตุเหล่านี้คือคุณสมบัติการนำไฟฟ้า
8. อโลหะ (Non-metal) คือ ธาตุที่มีคุณสมบัติต่างจากโลหะและธาตุกึ่งโลหะ
ในด้านการแตกตัวของไอออน (ionization) และการดึงดูดระหว่างอะตอม
(bonding properties) อโลหะทุกตัวจะมีประจุไฟฟ้าเป็นลบ (highly electronegative) โดยการรับอิเล็กตรอน (valence electrons) จากอะตอมของธาตุอื่น โดยทั่วไปอโลหะมีสมบัติตรงข้ามกับโลหะ
สมบัติทางกายภาพ
o
อโลหะเป็นฉนวนไฟฟ้า หรือ กึ่งตัวนำไฟฟ้า
(ขณะที่ โลหะเป็นตัวนำไฟฟ้า) ยกเว้น
คาร์บอนในรูปแกรไฟต์
- อโลหะเป็นฉนวนความร้อน
- อโลหะมีจุดหลอมเหลวได้หลากหลาย กล่าวคือมีหลายสถานะ
(ขณะที่โลหะส่วนใหญ่ ที่เป็นสารบริสุทธิ์ มีจุดหลอมเหลวสูง กล่าวคือเป็นของแข็งที่ STP
ยกเว้น ปรอท)
- ด้านชนิดและปริมาณ อโลหะมีจำนวนชนิดน้อยกว่าคือเพียง 22
ชนิด (ขณะที่โลหะมีมากกว่า 80 ชนิด) แต่สสารในโลกมีปริมาณธาตุองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นอโลหะทั้งเปลือกโลก,
บรรยากาศ, พื้นน้ำ และสิ่งมีชีวิต ล้วนมีธาตุองค์ประกอบเกือบทั้งหมดเป็นอโลหะ
สมบัติทางเคมี
- อโลหะแตกตัวในสารละลายให้ประจุลบ
- อโลหะมีคุณสมบัติความวาวและความด้านที่หลากหลาย (ขณะที่โลหะบริสุทธิ์มีความวาวแบบโลหะ)
- ในการทำปฏิกิริยาออกซิเดชัน-รีดักชัน อโลหะเป็นตัวออกซิไดซ์ที่ดี
กล่าวคือทำหน้าที่รับอิเล็กตรอน (ขณะที่โลหะเป็นตัวรีดิวซ์ที่ดี กล่าวคือทำหน้าที่ให้อิเล็กตรอน)
- ออกไซด์ของอโลหะส่วนใหญ่เป็นกรด
- อโลหะส่วนมากมีวาเลนซ์เพียง 2
อะตอม (diatomic) อโลหะที่เหลือ
มีวาเลนซ์หลายอะตอม (polyatomic) อโลหะที่มีวาเลนซ์ 2 อะตอม - ไฮโดรเจน (hydrogen – H)
- คาร์บอน
(carbon – C)
- ไนโตรเจน
(nitrogen – N)
- ออกซิเจน
(oxygen – O)
- 9. แชลโคเจน (chalcogens) คือ อนุกรมเคมีของธาตุเคมีในหมู่ 16 ตารางธาตุ ซึ่งอยู่ในตระกูลธาตุเดียวกับออกซิเจน (oxygen family) มีอีกชื่อหนึ่งว่าหมู่ออกซิเจน10. แฮโลเจน (halogens) คือ อนุกรมเคมีของกลุ่มธาตุในหมู่ 7 ของตารางธาตุแฮโลเจน
สิ่งที่ทำให้เกิดเกลือ มาจากคำภาษากรีก 2 คำคือ halo แปลว่าเกลือ และ gen แปลว่าสร้าง11. แก๊สมีตระกูล (noble gases) หรือเรียกว่า แก๊สเฉี่อย (inert gases) คือ อนุกรมเคมีของกลุ่มธาตุเคมีในหมู่ 8 ของตารางธาตุเดิมเข้าใจว่าไม่ทำปฏิกิริยาเคมีกับธาตุใด ต่อมานีล บาร์เลตต์ พบว่าสามารถทำปฏิกิริยาเคมีได้บ้าง แต่ก็ทำปฏิกิริยาได้ยาก แก๊สมีตระกูลมีแรงแวนเดอร์วาลส์ (แรงดึงดูดระหว่างอะตอม) น้อยมากจึงทำให้มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำมากเช่นกัน ดังนั้นจึงมีสถานะเป็นแก๊ส
STP คืออะไร
STP หรือ Standard Temperature and Pressure
(อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน) หมายถึง สภาวะที่อุณหภูมิเท่ากับ
0 องศาเซลเซียส (273.15 เคลวิน)
และความดันเท่ากับหนึ่งบรรยากาศ (นิยามไว้เท่ากับ 101.325 กิโลพาสคัล) ซึ่งเท่ากับอุณหภูมิจุดเยือกแข็งของน้ำ และความดันบรรยากาศที่ระดับน้ำทะเลโดยประมาณ
สมบัติโดยสรุปของโลหะ-อโลหะ
โลหะ
1. ส่วนมากอยู่ในสถานะของแข็งยกเว้น
ปรอท เป็นของเหลว
ณ อุณหภูมิปกติ
2. ขัดเป็นมันวาว
3. ส่วนมากมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง
4. นำความร้อนและไฟฟ้าได้ดี
แต่เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นโลหะจะนำไฟฟ้าได้น้อยลง
5. ส่วนใหญ่มีความหนาแน่นสูง
6. เหนียวดึงเป็นเส้นหรือตีแผ่เป็นแผ่นได้
7. เคาะเสียงดังกังวาน
8. มีความโน้มเอียงที่จะเสียอิเล็กตรอนเมื่อรวมตัวกับอโลหะ
9. ส่วนใหญ่ทำปฏิกิริยากับสารละลายกรดได้ก๊าซไฮโดรเจน
10. เมื่อทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนได้สารประกอบออกไซด์ที่ละลายน้ำแล้วมีสมบัติเป็นเบส
อโลหะ
1. มีทั้งสถานะของแข็ง
ของเหลว และก๊าซ ณ อุณหภูมิปกติ
2. ขัดไม่เป็นมันวาว
3. ส่วนมากมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ
4. เป็นฉนวนไฟฟ้า ยกเว้นแกรไฟต์
5. มีความหนาแน่นต่ำ
6. เปราะดึงเป็นเส้นหรือตีแผ่เป็นแผ่นไม่ได้
7. เคาะไม่มีเสียงดังกังวาน
8. มีความโน้มเอียงที่จะรับอิเล็กตรอนเมื่อรวมตัวกับโลหะ
9. ไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายกรด
10. เมื่อรวมตัวกับก๊าซออกซิเจนจะได้สรประกอบออกไซด์ที่ละลายน้ำแล้วมีสมบัติเป็นกรด
สำหรับธาตุที่เป็นกึ่งโลหะ
จะมีสมบัติก้ำกึ่งระหว่างโลหะและอโลหะ เช่น
นำไฟฟ้าได้เล็กน้อยที่ภาวะปกติเมื่อทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนได้สารประกอบออกไซด์ที่มีสมบัติเป็นได้ทั้งกรดและเบส เป็นต้น
นำไฟฟ้าได้เล็กน้อยที่ภาวะปกติเมื่อทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนได้สารประกอบออกไซด์ที่มีสมบัติเป็นได้ทั้งกรดและเบส เป็นต้น
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบสมบัติโดยทั่วไปของโลหะ และอโลหะ
สมบัติของธาตุ
|
โลหะ
|
อโลหะ
|
สถานะ
|
ของแข็ง
|
มีทั้งสามสถานะ
|
ความเป็นมันวาว
|
เป็นมันวาว
|
ไม่เป็นมันวาว
|
ความเหนียว – เปราะ
|
เหนียว
|
เปราะ
|
นำไฟฟ้า – ความร้อน
|
นำ
|
ไม่นำ
|
ช่วง mp - bp
|
กว้าง
|
แคบ
|
จุดเดือด จุดหลอมเหลว
|
สูง
|
ต่ำ
|
เคาะ
|
กังวาน
|
ไม่กังวาน
|
หลักการเขียนสัญลักษณ์ของธาตุ
เนื่องจากธาตุมีอยู่หลายชนิด จอห์น ดอลตัน จึงเสนอให้มีการใช้รูปภาพเป็นสัญลักษณ์แทนชื่อธาตุในปีพ.ศ.
2361 นักเคมีชาวสวีเดนชื่อ จาคอบ เบอร์ซีเลียส (Jacob Berzlius) เห็นว่าได้มีการค้นพบธาตุใหม่ ๆ เป็นจำนวนมาก การใช้รูปภาพไม่สะดวก จึงเสนอให้ใช้ตัวอักษรแทนชื่อธาตุ เพื่อให้สะดวกและมีความเป็นสากลมากขึ้นควรใช้อักษรตัวต้นในภาษาอังกฤษหรือละตินเป็นสัญลักษณ์แทนอะตอมของธาตุ เพื่อไม่ให้สัญลักษณ์ซ้ำกันให้ใช้อักษรตัวรองหรือตัวถัดไปควบกับอักษรตัวต้นโดยเขียนตัวพิมพ์ใหญ่สำหรับอักษรตัวต้น
และใช้อักษรตัวเล็กสำหรับตัวรอง
ตารางที่ 2 แสดงชื่อธาตุและสัญลักษณ์ของธาตุบางชนิด
ชื่อธาตุ
|
ชื่อในภาษาอังกฤษ
|
ชื่อในภาษาละติน
|
สัญลักษณ์
|
เหล็ก
ตะกั่ว
ทองแดง
เงิน
ดีบุก
ปรอท
อลูมิเนียม
ทองคำ
สังกะสี
พลวง
สารหนู
แมงกานีส
โซเดียม
โพแทสเซียม
แคลเซียม
คาร์บอน
ไนโตรเจน
ออกซิเจน
ไฮโดรเจน
คลอรีน
กำมะถัน
ฟอสฟอรัส
ไอโอดีน
ซิลิกอน
|
Iron
Lead
Copper
Silver
Tin
Mercury
Aluminum
Gold
Zinc
Antimony
Arsenic
Manganese
Sodium
Potassium
Calcium
Carbon
Nitrogen
Oxygen
Hydrogen
Chlorine
Sulfur
Phosphorus
Iodine
Silicon
|
Ferrum
Plumbum
Cuprum
Argentum
Stannum
Hydragyrum
–
Aurum
–
–
–
–
Natrium
Kalium
–
–
–
–
–
–
–
–
–
-
|
Fe
Pb
Cu
Ag
Sn
Hg
Al
Au
Zn
Sb
As
Mn
Na
K
Ca
C
N
O
H
Cl
S
P
I
Si
|
ธาตุกัมมันตรังสี
ธาตุที่สามารถปล่อยรังสีที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเรียกว่า ธาตุกัมมันตรังสี ส่วนปรากฏการณ์ที่ธาตุแผ่รังสีได้เองอย่างต่อเนื่องเรียกว่า
กัมมันตภาพรังสี รังสีที่แผ่ออกมาจากสารกัมมันตรังสี
อาจเป็นรังสีแอลฟา บีตา หรือแกมมา ซึ่งมีสมบัติต่าง ๆ กันดังนี้
· รังสีแอลฟา ความสามารถทะลุทะลวงได้ต่ำเพียงแผ่นกระดาษหนา
แผ่นโลหะที่มีความหนาเท่ากับแผ่นอะลูมิเนียมบางๆ
· รังสีบีตา มีความสามารถทะลุทะลวงได้มากกว่ารังสีแอลฟา
100 เท่า สามารถทะลุอะลูมิเนียมที่มีความหนา 1 เซนติเมตร หรืออากาศที่มีความหนาประมาณ 1
สามารถป้องกันการทะลุทะลวงของรังสีบีตาได้
· รังสีแกมมา มีสมบัติเหมือนกันกับรังสรเอกซ์
(รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังงานสูง)
เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากับแสง มีกำลังทะลุทะลวงได้มากกว่ารังสีบีตา 100 เท่า
ประโยชน์บางประการของสารกัมมันตรังสี
1. คาร์บอน- 14 ประโยชน์ช่วยหาอายุของโบราณวัตถุ
2. โคบอลท์-60 ประโยชน์รักษาโรคมะเร็ง
3. ทองคำ-198 ประโยชน์วินิจฉัยตับ
4. ไอโอดีน-125 ประโยชน์หาปริมาณเลือด
5. ไอโอดีน-131 ประโยชน์วินิจฉัยอวัยวะ
6. ฟอสฟอรัส–32 ประโยชน์รักษาโรคมะเร็ง
7. โพแทสเซียม–40 ประโยชน์หาอายุหิน
8. ยูเรเนียม–235 ประโยชน์ให้พลังงาน
การใช้กัมมันตภาพรังสีทางเกษตรกรรม
การใช้กัมมันตภาพรังสีทางเกษตรกรรม
เช่น การใช้ถนอมอาหาร วิเคราะห์ดิน เพื่อจำแนกพื้นที่เพาะปลุกให้เหมาะสมกับชนิดของพืช
ศึกษาเกี่ยวกับการผลิตไข่ และน้ำนมสัตว์ช่วยกำจัดแมลงและการกลายพันธุ์ของพืช
1. การใช้รังสี
รังสีที่นำมาใช้ถนอมอาหาร คือ รังสีแกมมา
ซึ่งเป็นรังสีที่มีกำลังทะลุทะลวงสูงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้จากธาตุกัมมันตรังสี
เช่น โคบอลต์-
60 เนื่องจากรังสีมีกำลังทะลุทะลวงสูง ห้ามใช้ปริมาณรังสีขนาดพอเหมาะจะสามารถทำลายเชื้อจุลินทรีย์
รวมทั้งเอนไซม์ในอาหารด้วย และไม่มีผลกระทบต่อผู้บริโภคโดยไม่มีพิษตกค้าง
ผลผลิตทางการเกษตรที่นำไปอาบรังสี ได้แก่ หัวหอมเล็ก หัวหอมใหญ่ แอปเปิล มันฝรั่ง ผลไม้หลายชนิด ขนาดของรังสีที่ใช้อาบมีหน่วย เรียกว่า แรด์ (rad) หรือ เกร์ย โดยกำหนดว่า
1 แรด์ เท่ากับพลังงาน 100 เฮิร์ต ที่ถ่ายโอนให้กับวัตถุ 1 กรัม
100 แรด์ เท่ากับ 1 เกรย์
1000 เกรย์ เท่ากับ 1 กิโลเกรย์
การใช้กัมมันตรังสีทางอุตสาหกรรม
ใช้รังสีแกมมาและรังสีเอกซ์ตรวจสอบรอยเชื่อมของโลหะ
การเชื่อมตัวเรือดำน้ำ การจัดความหนาของกระดาษการวัดปริมาณซัลเฟอร์ในปิโตรเลียม
เป็นต้น
การป้องกันอันตรายจากกัมมันตภาพรังสี
อันตรายจากกัมมันตภาพรังสี ขึ้นกับปริมาณพลังงานของกัมมันตรังสีต่อมวลที่ถูกรังสี
และสำคัญของส่วนที่ถูกกัมมันตภาพรังสีต่อการดำรงชีวิต ผู้ที่จะนำกัมมันตภาพรังสีไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าในการแพทย์ ทางการเกษตรทางอุตสาหกรรม ตลอดจนค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ จะต้องมีความรู้ทางด้านกัมมันตรังสีเป็นอย่างดี
รู้จักวิธีใช้ที่ปลอดภัย และวิธีป้องกันอันตรายจากกัมมันตภาพรังสีเหล่านั้นด้วย
จะเห็นได้ว่าการแผ่รังสีจะทำให้เกิดธาตุใหม่ได้
หรืออาจเป็นธาตุเดิมแต่จำนวนโปรตอนหรือนิวตรอนอาจไม่เท่ากับธาตุเดิม
และธาตุกัมมันตรังสีแต่ละธาตุมีระยะเวลาในการสลายตัวแตกต่างกันและแผ่รังสีได้แตกต่างกัน
โดยมวลจำนวนหนึ่งของธาตุจะลดลงเหลือครึ่งหนึ่งของมันที่มีอยู่เดิม
เมื่อเวลาผ่านไปเรียกว่า ครึ่งชีวิตของธาตุ
ครึ่งชีวิตเป็นสมบัติเฉพาะตัวของแต่ละไอโซโทปและสามารถใช้เปรียบเทียบอัตราการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีแต่ละชนิดได้
รังสีที่ทำให้เกิดการแตกของประจุ
( Ionizing Radiation )
- รังสีแอลฟาอะตอมใหม่จะมีเลขอะตอมลดลง 2 เลขมวลลดลง 4 อนุภาคแอลฟา
มีอำนาจทะลุทะลวงต่ำเพียงแค่กระดาษอากาศที่หนาประมาณ 2 - 3 cm น้ำที่หนาขนาดมิลลิเมตร หรือโลหะบางๆ ก็สามารถกั้นอนุภาคแอลฟาได้
มีอำนาจทะลุทะลวงต่ำเพียงแค่กระดาษอากาศที่หนาประมาณ 2 - 3 cm น้ำที่หนาขนาดมิลลิเมตร หรือโลหะบางๆ ก็สามารถกั้นอนุภาคแอลฟาได้
- รังสีของอนุภาคโพซิตรอน มีสมบัติเช่นเดียวกับอนุภาคบีตาต่างกันที่โพซิตรอนมีประจุบวกและไม่เสถียรการแผ่รังสีของอนุภาคโพซิตรอนนิวเคลียสจะมีจำนวนโปรตอนมากกว่านิวตรอน
เมื่อเทียบจากไอโซโทปที่เสถียรของธาตุเดียวกัน
เมื่อเทียบจากไอโซโทปที่เสถียรของธาตุเดียวกัน
- รังสีเบต้า มีสมบัติเหมือนอิเล็กตรอน
คือ ประจุเป็น –1 มวลเท่ากับมวลของอิเล็กตรอนมีอำนาจทะลุทะลวงสูงกว่ารังสีแอลฟาประมาณ
100 เท่าและมีความเร็วใกล้เคียงกับความเร็วแสง
- รังสีแกมมา เป็นรังสีที่มีพลังงานสูง
ไม่มีประจุ ไม่มีมวล
เป็นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้ามีความเร็วเท่ากับความเร็วแสงและมีอำนาจทะลุทะลวงสูง
ประเภทของปฏิกิริยานิวเคลียร์
การเกิดปฏิกิริยาของธาตุกัมมันตรังสีเรียกว่า ปฏิกิริยานิวเคลียร์
ซึ่งมี 2 ประเภท คือ
1. ปฏิกิริยาฟิวชัน (Fussion reaction)
คือ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่นิวเคลียสของธาตุเบาหลอมรวมกันเข้าเป็นนิวเคลียสที่หนักกว่า
และมีการคายความร้อนออกมาจำนวนมหาศาลและมากกว่าปฏิกิริยาฟิชชันเสียอีก
ปฏิกิริยาฟิวชันที่รู้จักกันดี คือ ปฏิกิริยาระเบิดไฮโดรเจน (Hydrogen bomb)
2. ปฏิกิริยาฟิชชัน (Fission reaction)
คือ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากการยิงอนุภาคนิวตรอนเข้าไปยังนิวเคลียสของธาตุหนัก แล้วทำให้นิวเคลียร์แตกออกเป็นนิวเคลียร์ที่เล็กลงสองส่วนกับให้อนุภาคนิวตรอน
2-3 อนุภาค และคายพลังงานมหาศาลออกมา ถ้าไม่สามารถควบคุมปฏิกิริยาได้อาจเกิดการระเบิดอย่างรุนแรงที่เรียกว่า ลูกระเบิดปรมาณู (Atomic
bomb) เพื่อควบคุมปฏิกิริยาลูกโซ่ไม่ให้เกิดรุนแรง นักวิทยาศาสตร์จึงได้สร้างเตาปฏิกรณ์ปรมาณู ซึ่งสามารถนำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้
ประโยชน์ของธาตุกัมมันตรังสี
1. ทำเตาปฏิกรณ์ปรมาณู ทำโรงงานไฟฟ้าพลังงานปรมาณู และเรือดำน้ำปรมาณู
2. ใช้สร้างธาตุใหม่หลังยูเรเนียมสร้างขึ้นโดยยิ่งนิวเคลียสของธาตุหนักด้วยอนุภาคแอลฟา
หรือด้วยนิวเคลียสอื่นๆ ที่ค่อนข้างหนัก และมีพลังงานสูง
3. ใช้ศึกษากลไกของปฏิกิริยาเคมี เช่น การเกิดปฏิกิริยาของเอสเทอร์
4. ใช้ในการหาปริมาณวิเคราะห์
5. ใช้ในการหาอายุของซากสิ่งมีชีวิต (C – 14)
6. การรักษาโรค เช่น มะเร็ง (Ra – 226)
7. ใช้ในการถนอมอาหารให้อยู่ได้นานๆ ( Co-60)
8. ใช้ ศึกษาความต้องการปุ๋ยของพืช และปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการ (P – 32)
โทษของธาตุกัมมันตรังสี
ถ้าร่างกายได้รับจะทำให้โมเลกุลภายในเซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงไม่สามารถทำงานตามปกติได้ถ้าเป็นเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมก็จะเกิดการผ่าเหล่าโดยเฉพาะเซลลสืบพันธุ์
เมื่อเข้าไปในร่างกายจะไปสะสมในกระดูกส่วนผลที่ทำให้เกิดความป่วยไข้จากรังสี
เมื่ออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายได้รับรังสีโมเลกุลของธาตุต่างๆที่ประกอบเป็นเซลล์จะแตกตัว ทำให้เกิดอาการป่วยไข้และเกิดมะเร็งได้
สารประกอบ (Compound)
สารประกอบ
(Compound) หมายถึง สารที่จัดเป็นสารเนื้อเดียวประเภทสารบริสุทธิ์ที่เกิดจากการรวมตัวกันของธาตุตั้งแต่
2 ชนิดขึ้นไปรวมตัวกันโดยมีปฏิกิริยาเคมีมีอัตราส่วนโดยจำนวนอะตอมและมวลคงที่และสารบริสุทธิ์ที่ได้ไม่แสดงสมบัติของสารเดิมหรือเกิดจากการสลายตัวของสารประกอบบางชนิด
ประโยชน์ของธาตุและสารประกอบในชีวิตประจำวัน
1. โซเดียมคลอไรด์
( NaCl ) ใช้ปรุงรสอาหาร ถนอมอาหาร เป็นสารตั้งต้นในการผลิตโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต
(NaHCO3) หรือโซดาทำขนม โซเดียมคาร์บอเนต (NaCO3) หรือโซดาแอช
โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH ) หรือโซดาไฟ และไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl ) ในต่างประเทศใช้ NaCl สำหรับละลายน้ำแข็งในหิมะ เป็นสารจำเป็นในร่างกาย คือ Na+ เป็นส่วนประกอบของของเหลวในร่างกาย
2. แคลเซียมคลอไรด์
( CaCl2 ) ใช้เป็นสารดูดความชื้นใช้ในเครื่องทำความเย็นในอุตสาหกรรมห้องเย็น ใช้ทำฝนเทียม
3. โพแทสเซี่ยมคลอไรด์
( KCl ) ใช้ทำปุ๋ย
4. แอมโมเนียมคลอไรด์
( NH4Cl ) ใช้เป็นน้ำประสารดีบุก ใช้เป็นอิเล็กโทรไลต์เซลล์ถ่านไฟฉาย
5. โซเดียมหรือแคลเซียมคลอเรต
( NaClO3 , Ca
(ClO3)2 ใช้เป็นสารฟอกสีฟอกขาวเยื่อกระดาษใช้ฆ่าแบคทีเรีย
และสาหร่ายในน้ำประปา และในน้ำสระ
6. HCl ใช้กำจัดสนิมเหล็กก่อนที่จะฉาบสารกันสนิม
7. DDT ใช้เป็นยาฆ่าแมลง
8. ฟรีออน
หรือสาร CFC ใช้ทำความเย็น เป็นตัวขับดันในกระป๋องสเปรย์
9. โบรโมคลอโรไดฟลูออโรมีเทน ( BFC ) เป็นสารที่ใช้ดับเพลิงในรถยนต์
และเครื่องบิน
10. แคลเซียมคาร์บอเนต ( CaCO3 ) พบมากในธรรมชาติเกิดอยู่ในแบบของ Limestone Marble ชอล์ก หอย เปลือกหอยกาบ และไข่มุก CaCO3 ที่บริสุทธิ์จะมีสีขาว
CaCO3 ที่อยู่ในรูปแบบของ Marble ใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างแต่ถ้าอยู่ในรูป
Limestone ผสม Clay แล้วให้ความร้อนจะให้ซีเมนต์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น